ป้ายกำกับ

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย


การเตรียมต้นฉบับ(ส่วนนำ)


ชื่อเรื่อง 

ไม่ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไปจนผู้อ่านไม่เข้าใจ
ต้อง specific
อาจตั้งชื่อเรื่องในรูปของประโยคคำถาม
  “ โรคมือ เท้า ปาก จัดการได้อย่างไร?
ข้อแนะนำ: ตั้งชื่อภายหลังเขียนส่วนอื่นทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว

การตั้งชื่อบทความวิจัย

 สั้น  กระชับ  ใช้ศัพท์เฉพาะแทนมโนทัศน์
เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ  ไม่ทำให้คนอ่านตีความผิด
สะท้อนทุกอย่างที่เขียนในบทความอย่างถูกต้อง
ไม่หวือหวา  ไม่ตื่นเต้น   ไม่ใช้ ภาษาปาก หรือคำสแลง
ไม่กว้างเกินไป
ทำให้คนเห็นว่าเป็นเรื่องอะไร  แนวอะไร  สาขาอะไร  ประชากรคือใคร หรืออะไร
ตัวอย่างชื่อเรื่องบทความวิจัย
ผลกระทบของคู่สมรสชาวต่างชาติที่มีต่อเศรษฐกิจอีสาน
ประสิทธิภาพทางเทคนิคของโรงพยาบาลชุมชน กรณีศึกษา: โรงพยาบาลขอนแก่น
แนวทางการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก
การพยากรณ์ภาวะล้มละลายของอุตสาหกรรมโรงสีข้าวในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา
ASEAN AND LOW-LEVEL SECURITY COOPERATION (Johannes Lund 2004)
BUDDHISM AND POLITICAL LEGITIMATION IN BURMA (1988-2003)
(
Rattanaporn Poungpattana 2004)
CONTINUITY AND CHANGE IN HMONG CULTURAL IDENTITY: A CASE STUDY OF HMONG REFUGEES FROM LAOS IN WAT THAMKRABOK, SARABURI, THAILAND (Heidi Jo Bleser 2004)
CROSS-CULTURAL ADJUSTMENT AND INTEGRATION OF WESTERN EXPATRIATE WOMEN IN BANGKOK  (Maria Ida Barrett 2004)
REWAT BUDDHINAN’S INFLUENCE ON THAI POPULAR MUSIC (1983-1996)  (Prit Patarasuk 2004)
 ชื่อผู้แต่ง
เรียงตามปริมาณงาน ชื่อแรกเป็นผู้มีส่วนร่วม ในการศึกษามากที่สุด
   ชื่อถัดไปก็มีส่วนร่วมน้อยรองลงไปจากชื่อแรก
ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อผู้ร่วมงานทุกคน เช่น คนงานถูพื้น คนทำความสะอาด เป็นต้น
ที่อยู่
ระบุที่ทำงานของผู้แต่งทุกคน
ถ้ามีการย้ายที่ทำงานให้เพิ่ม
“ที่อยู่ปัจจุบัน (Present address) ของผู้แต่งรายนั้นด้วย”


การเขียนบทคัดย่อ

การเขียนบทคัดย่อ
 แล้วแต่วารสารกำหนด แต่โดยทั่วไป ควรมีความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 ไม่ควรเกิน 250 คำ
เนื้อหาประกอบด้วย การเกริ่นความเป็นมาเล็กน้อยถึงภูมิหลังของบทความ ตามดัวยวัตถุประสงค์   วิธีการศึกษา  ผลการวิจัย และข้อเสนอแนะ
เขียนอย่างกระชับที่สุด  ชัดเจนที่สุด ต้องครอบคลุมสิ่งที่ค้นพบทั้งหมด
ควรเขียนสุดท้าย ภายหลังเขียนส่วนอื่น ๆ เสร็จสิ้นแล้ว
บทคัดย่อจะเป็นเครื่องตัดสินใจให้ผู้อ่านว่าจะอ่านต่อไปหรือไม่

ข้อควรระวังในการเขียนบทคัดย่อ

ใช้ภาษาเรียบง่าย ไม่เยิ่นเย้อ
เช่น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงการดำเนินการการบริหารจัดการอัตรากำลังในกลุ่มการพยาบาล
ควรเขียนเป็น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารอัตรากำลังในกลุ่มการพยาบาล
ผลการวิเคราะห์ทำให้ผู้วิจัยสามารถสรุปประเด็นซึ่งสำคัญหลายประเด็นได้ดังต่อไปนี้   
ควรเขียนเป็น ผลการวิเคราะห์ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
โรงสีข้าวทำหน้าที่ในการแปรรูปข้าวเปลือกให้กลายเป็นข้าวสาร
ควรเขียนเป็น  โรงสีข้าวทำหน้าที่แปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร
ทำการวิเคราะห์ à วิเคราะห์,  ทำการทดลอง à ทดลอง,                     
ทำการสำรวจ à สำรวจ    
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการใช้จ่ายของคู่สมรสชาวต่างชาติในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ควรเขียนเป็น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของการใช้จ่ายของคู่สมรสชาวต่างชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 ข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษ
ระวังเรื่องไวยากรณ์ (เพราะต่างจากภาษาไทย)
เอกพจน์ พหูพจน์  นามนับได้  นับไม่ได้
กาล (tense)
คำนำหน้านาม  a, an, the  ชี้เฉพาะ  ไม่ชี้เฉพาะ
คำกริยา vs. คำคุณศัพท์ 
กริยาแท้  กริยาไม่แท้
ประโยคต้องมีกริยาแท้ตัวเดียว
 ตัวอย่าง
ผิด My previous house is in the small town.
ถูก My previous house was in a small town.
ผิด He is also accepted among the White Americans.
ถูก He is also accepted among White Americans.
  หลีกเลี่ยง
ตัวย่อ เช่น รร.  รพ. เป็นต้น
ระบุเอกสารอ้างอิง ตาราง หรือรูปภาพในบทคัดย่อ
การเขียนผลการศึกษา หรือข้อสรุปซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องเลย
การเขียนบอกให้ไปอ่านผล หรือการอภิปรายในเนื้อเรื่อง
 BAD EXAMPLE
   ได้ทำการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 1,360ราย ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล (ตารางที่1)................... พบว่าส่วนใหญ่เริ่มมาฝากครรภ์ เมื่ออายุครรภ์ค่อนข้างมาก(รูปที่ 1) .. .............      ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะได้นำเสนอไว้ในเนื้อเรื่องแล้ว
             อ่านบทความนี้แล้วท่านผู้อ่านน่าจะพอได้แนวทางในการเขียนบทคัดย่อ สำหรับบทความต่อไปเป็นเรื่องการวางประเด็นสำคัญของเนื้อหา อย่าลืมติดตามต่อไปนะค่ะ

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จุดเริ่มต้นของนักเขียน


การเริ่มต้นเป็นผู้เขียนที่ดี

1.จงเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถเขียนเอกสารวิชาการได้

2.การเขียนให้ได้ดีนั้น ไม่ใช่ของง่าย แต่ก็ไม่ใช่ของยาก

3.ต้องอดทน และให้เวลาแก่การเขียน

4.นักเขียนที่ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดีด้วย

5.ต้องใจกว้าง รับฟังคำวิจารณ์เพื่อพัฒนางานของเราให้ดีขึ้น

ลักษณะบทความวิจัย

บทความวิจัย คืออะไร
 บทความวิจัย เป็นการเขียนแบบวิชาการ (academic writing)  มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1. เขียนโดยนักวิชาการ (scholars) เพื่อนักวิชาการอื่นๆ
2. เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องที่ชุมชนวิชาการ (academic community) สนใจ
            3. เนื้อหาที่เขียนต้องเสนอในรูปของ การให้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ (Informed argument)
 13 ลักษณะของบทความวิจัย
 1. เขียนโดยนักวิชาการ (scholars)
นักวิชาการ คือผู้ที่ต้องอ่าน  คิด  โต้เถียงด้วยเหตุผล  และเขียน เพื่อเผยแพร่ความคิดที่ยิ่งใหญ่ ในเชิงวิชาการ
อะไรที่เราเขียนเพื่อให้นักวิชาการคนอื่นอ่าน คือ การเขียนแบบวิชาการ
 2. เรื่องที่เขียนเป็นที่สนใจของชุมชนวิชาการ (academic community)
หัวข้อต้องเหมาะสม และเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา
ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว หรือความรู้สึกส่วนตัว
ต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ทางวิชาการ
ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่าน  อ่านแล้วบรรลุ
 3. เนื้อหาที่เขียนต้องเสนอในรูปของการให้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่(Informed argument)

ต้องเสนอว่าผู้เขียนรู้อะไรและต้องการให้ผู้อ่านรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เขียน (inform)

ต้องเสนอว่าผู้เขียนคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย (argue)

ให้ความรู้ใหม่

มีการโต้แย้งแสดงเหตุผล

ต้องเขียนแบบ analytical ไม่ใช่แบบ personal

 4.ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานได้มาจากการวิจัยของผู้เขียนเอง
5. เป็นการรายงานผลการวิจัย (ต้องทำวิจัยก่อน)
6. เน้นสมมติฐาน และการวิธีดำเนินการวิจัย
7. เน้นการทดสอบทฤษฎี
8. เน้นการได้ทฤษฎีใหม่ (ได้คำอธิบายใหม่)
9. หรือเน้นการนำผลไปใช้เฉพาะเรื่อง
10. บทความมาจากการนำประเด็นเด่นที่ค้นพบมาเขียน
 11.มีลักษณะเล็กแต่ลึก
12.มีจุดยืนหรือข้อสรุปของตนเอง
13.การเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนต้องรู้จัก 4 ประการดังนี้
  • ต้องรู้จักสรุปความ  (summarize)

  • ต้องรู้จักประเมิน  (evaluate)

  • ต้องรู้จักวิเคราะห์  (analyze) 

  • ต้องรู้จักสังเคราะห์  (synthesize)

การที่เราจะรู้จักทักษะ 4 ประการนี้ เราต้องเป็นนักอ่านที่ดีก่อน ผู้เขียนขอแนะนำ แหล่งสืบค้นรายชื่อวารสาร ตามlink ข้างล่างนี้ค่ะ

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/search.html
ปัจจุบันมีหลายวารสารที่เป็น E-Journal สามารถเปิดอ่านได้เลยค่ะ