![]() |
เคล็ดไม่ลับการเขียนบทความวิจัยที่ดี
•อ่านบทความวิชาการมากๆ โดยเฉพาะที่เขียนโดยนักวิชาการเก่งๆ
•จดจำวิธีการและลีลาการเขียนของคนเก่งเหล่านั้น
•พยายามเข้าร่วมการสัมมนาบ่อยๆ และฝึกวิพากษ์ผลงานคนอื่นมากๆ
•รู้จักเลือกเรื่องหรือประเด็นที่น่าสนใจมาเขียน
•เขียนเมื่อวิจัยเสร็จแล้ว หรือวิเคราะห์เสร็จแล้ว
•เลือกหัวข้อ หรือเรื่องที่จะเขียน ควรเป็นประเด็นเดียว ที่น่าสนใจ
•กำหนดชื่อเรื่อง •กำหนดวัตถุประสงค์ และสมมติฐาน
•กำหนดวัตถุประสงค์ และสมมติฐาน
•ทำโครงร่าง
•เริ่มต้นเขียน
•ก่อนอื่นต้องเขียนความเป็นมา หรือเหตุผลที่เขียนบทความ
•เมื่อเขียนบทความเสร็จ ต้องเช็คความถูกต้องของข้อมูล ตัวสะกด การอ้างอิง ความชัดเจน ฯลฯ
•ให้ผู้อื่นอ่าน เช่นอาจารย์ รุ่นพี่ หรือนำเสนอในที่ประชุม เพื่อรับคำวิจารณ์
•นำคำวิจารณ์มาปรับปรุงโดย ตัด แต่ง ต่อ เติม
•ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ต้องให้เจ้าของภาษาช่วยอ่านและแก้ภาษาก่อนส่งไปตีพิมพ์
•ส่งไปยังวารสารที่มีสาขาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน
•เมื่อได้ต้นฉบับกลับ ให้ทำความเข้าใจกับคำวิจารณ์
•แก้ไขตามผู้วิจารณ์ และสรุปข้อที่แก้ไขส่งกลับบรรณาธิการ
•เมื่อมีการตรวจภาษาแล้ว ต้องแก้ไขให้สมบูรณ์ และเป็นระบบ
•เมื่อบรรณาธิการส่งต้นฉบับให้ตรวจปรู๊ฟ ต้องตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะเป็นการตรวจครั้งสุดท้าย
•ควรอ่านและอ้างอิงงานของผู้อื่นในวารสารที่เราตีพิมพ์
เคล็ด(ไม่)ลับที่ได้จากหลายๆอาจารย์ สำหรับผู้สนใจเขียนบทความเผยแพร่ ที่นำมาให้อ่านในครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน
พบกันใหม่ในบทความต่อไป เรื่องการตั้งชื่อบทความวิจัย
เคล็ด(ไม่)ลับที่ได้จากหลายๆอาจารย์ สำหรับผู้สนใจเขียนบทความเผยแพร่ ที่นำมาให้อ่านในครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน
พบกันใหม่ในบทความต่อไป เรื่องการตั้งชื่อบทความวิจัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น