ป้ายกำกับ

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จุดเริ่มต้นของนักเขียน


การเริ่มต้นเป็นผู้เขียนที่ดี

1.จงเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถเขียนเอกสารวิชาการได้

2.การเขียนให้ได้ดีนั้น ไม่ใช่ของง่าย แต่ก็ไม่ใช่ของยาก

3.ต้องอดทน และให้เวลาแก่การเขียน

4.นักเขียนที่ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดีด้วย

5.ต้องใจกว้าง รับฟังคำวิจารณ์เพื่อพัฒนางานของเราให้ดีขึ้น

ลักษณะบทความวิจัย

บทความวิจัย คืออะไร
 บทความวิจัย เป็นการเขียนแบบวิชาการ (academic writing)  มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ
1. เขียนโดยนักวิชาการ (scholars) เพื่อนักวิชาการอื่นๆ
2. เรื่องที่เขียนเป็นเรื่องที่ชุมชนวิชาการ (academic community) สนใจ
            3. เนื้อหาที่เขียนต้องเสนอในรูปของ การให้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ (Informed argument)
 13 ลักษณะของบทความวิจัย
 1. เขียนโดยนักวิชาการ (scholars)
นักวิชาการ คือผู้ที่ต้องอ่าน  คิด  โต้เถียงด้วยเหตุผล  และเขียน เพื่อเผยแพร่ความคิดที่ยิ่งใหญ่ ในเชิงวิชาการ
อะไรที่เราเขียนเพื่อให้นักวิชาการคนอื่นอ่าน คือ การเขียนแบบวิชาการ
 2. เรื่องที่เขียนเป็นที่สนใจของชุมชนวิชาการ (academic community)
หัวข้อต้องเหมาะสม และเกี่ยวข้องกับสาขาวิชา
ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว หรือความรู้สึกส่วนตัว
ต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ทางวิชาการ
ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่าน  อ่านแล้วบรรลุ
 3. เนื้อหาที่เขียนต้องเสนอในรูปของการให้เหตุผลที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่(Informed argument)

ต้องเสนอว่าผู้เขียนรู้อะไรและต้องการให้ผู้อ่านรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เขียน (inform)

ต้องเสนอว่าผู้เขียนคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นด้วย (argue)

ให้ความรู้ใหม่

มีการโต้แย้งแสดงเหตุผล

ต้องเขียนแบบ analytical ไม่ใช่แบบ personal

 4.ข้อเท็จจริง หรือหลักฐานได้มาจากการวิจัยของผู้เขียนเอง
5. เป็นการรายงานผลการวิจัย (ต้องทำวิจัยก่อน)
6. เน้นสมมติฐาน และการวิธีดำเนินการวิจัย
7. เน้นการทดสอบทฤษฎี
8. เน้นการได้ทฤษฎีใหม่ (ได้คำอธิบายใหม่)
9. หรือเน้นการนำผลไปใช้เฉพาะเรื่อง
10. บทความมาจากการนำประเด็นเด่นที่ค้นพบมาเขียน
 11.มีลักษณะเล็กแต่ลึก
12.มีจุดยืนหรือข้อสรุปของตนเอง
13.การเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนต้องรู้จัก 4 ประการดังนี้
  • ต้องรู้จักสรุปความ  (summarize)

  • ต้องรู้จักประเมิน  (evaluate)

  • ต้องรู้จักวิเคราะห์  (analyze) 

  • ต้องรู้จักสังเคราะห์  (synthesize)

การที่เราจะรู้จักทักษะ 4 ประการนี้ เราต้องเป็นนักอ่านที่ดีก่อน ผู้เขียนขอแนะนำ แหล่งสืบค้นรายชื่อวารสาร ตามlink ข้างล่างนี้ค่ะ

http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/search.html
ปัจจุบันมีหลายวารสารที่เป็น E-Journal สามารถเปิดอ่านได้เลยค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การตั้งชื่อบทความวิจัย

การตั้งชื่อบทความวิจัย


สั้น  กระชับ 
เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ  ไม่ทำให้คนอ่านตีความผิด
สะท้อนทุกอย่างที่เขียนในบทความอย่างถูกต้อง
ไม่หวือหวา  ไม่ตื่นเต้น   ไม่ใช้ ภาษาปาก หรือคำสแลง
ไม่กว้างเกินไป ทำให้คนเห็นว่าเป็นเรื่องอะไร  แนวอะไร  สาขาอะไร  ประชากรคือใคร หรืออะไร
ไม่ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไปจนผู้อ่านไม่เข้าใจ ต้อง specific
อาจตั้งชื่อเรื่องในรูปของประโยคคำถาม  “ โรคไหลตายเกิดจากการขาดวิตามินบี?
ข้อแนะนำ    ให้ตั้งชื่อภายหลังเขียนส่วนอื่นทุกอย่างเสร็จสิ้นแล้ว
 เริ่มรู้สึกสนุกและน่าสนใจแล้วใช่ไหมค่ะ บทความต่อไปเป็นเรื่องการเขียนบทคัดย่อค่ะ
อย่าลืมติดตามนะค่ะ

เคล็ด(ไม่)ลับ




เคล็ดไม่ลับการเขียนบทความวิจัยที่ดี
อ่านบทความวิชาการมากๆ  โดยเฉพาะที่เขียนโดยนักวิชาการเก่งๆ
จดจำวิธีการและลีลาการเขียนของคนเก่งเหล่านั้น
พยายามเข้าร่วมการสัมมนาบ่อยๆ และฝึกวิพากษ์ผลงานคนอื่นมากๆ
รู้จักเลือกเรื่องหรือประเด็นที่น่าสนใจมาเขียน
 เขียนเมื่อวิจัยเสร็จแล้ว หรือวิเคราะห์เสร็จแล้ว
เลือกหัวข้อ หรือเรื่องที่จะเขียน  ควรเป็นประเด็นเดียว ที่น่าสนใจ
กำหนดชื่อเรื่อง กำหนดวัตถุประสงค์ และสมมติฐาน
กำหนดวัตถุประสงค์ และสมมติฐาน
ทำโครงร่าง
เริ่มต้นเขียน
ก่อนอื่นต้องเขียนความเป็นมา หรือเหตุผลที่เขียนบทความ
เมื่อเขียนบทความเสร็จ ต้องเช็คความถูกต้องของข้อมูล  ตัวสะกด  การอ้างอิง  ความชัดเจน ฯลฯ
ให้ผู้อื่นอ่าน เช่นอาจารย์  รุ่นพี่  หรือนำเสนอในที่ประชุม เพื่อรับคำวิจารณ์
นำคำวิจารณ์มาปรับปรุงโดย  ตัด  แต่ง  ต่อ  เติม
ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ต้องให้เจ้าของภาษาช่วยอ่านและแก้ภาษาก่อนส่งไปตีพิมพ์
ส่งไปยังวารสารที่มีสาขาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียน
 เมื่อได้ต้นฉบับกลับ ให้ทำความเข้าใจกับคำวิจารณ์
แก้ไขตามผู้วิจารณ์ และสรุปข้อที่แก้ไขส่งกลับบรรณาธิการ
เมื่อมีการตรวจภาษาแล้ว  ต้องแก้ไขให้สมบูรณ์ และเป็นระบบ
เมื่อบรรณาธิการส่งต้นฉบับให้ตรวจปรู๊ฟ ต้องตรวจอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพราะเป็นการตรวจครั้งสุดท้าย
ควรอ่านและอ้างอิงงานของผู้อื่นในวารสารที่เราตีพิมพ์
            เคล็ด(ไม่)ลับที่ได้จากหลายๆอาจารย์ สำหรับผู้สนใจเขียนบทความเผยแพร่ ที่นำมาให้อ่านในครั้งนี้หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน
พบกันใหม่ในบทความต่อไป เรื่องการตั้งชื่อบทความวิจัย